การปรับปรุงห้องน้ำผู้สูงอายุเป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากความสะดวกต่อการใช้งานแล้ว ยังต้องเป็นพื้นที่ปลอดภัย เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุด้วย ดังนั้นก่อนเริ่มปรับปรุงห้องน้ำผู้สูงอายุ เรามีข้อมูลดีๆ และข้อควรระวังก่อนการปรับปรุงห้องน้ำมาฝากกัน
1. ขนาดห้องน้ำและระดับพื้นที่ภายใน -ภายนอก
อย่างแรกที่ต้องคำนึงถึง คือ ระดับพื้นภายในและภายนอกห้องน้ำที่ควรมีระดับเสมอกัน หากเป็นพื้นต่างระดับ ควรเป็นทางลาด ไม่มีธรณีประตู เพื่อป้องกันการสะดุดล้มและเอื้ออำนวยต่อการใช้วีลแชร์ได้ ในส่วนของขนาดพื้นที่ภายในห้องน้ำ ควรมีความกว้างอย่างน้อย 1.5 x 2 เมตร เพื่อให้ง่ายต่อการใช้วีลแชร์หมุนตัวกลับได้อย่างสะดวก
2. พื้นห้องน้ำ
พื้นห้องน้ำผู้สูงอายุ มีสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญหลายส่วนด้วยกัน ดังนี้
● พื้นห้องน้ำควรมีความเรียบเสมอกัน ไม่ยกสูง ไม่มีพื้นที่ต่างระดับ ไม่มีธรณีประตู เพื่อให้สะดวกต่อการใช้วีลแชร์และลดโอกาสเกิดการสะดุดล้ม ดังนั้นควรใช้รางน้ำทิ้งแบบยาวเพื่อป้องกันน้ำไหลไปยังโซนแห้ง
● พื้นกระเบื้องห้องน้ำกับผนังห้องน้ำควรเป็นสีตัดกัน เพื่อให้ผู้สูงอายุมองเห็นความแตกต่างระหว่างพื้นกับผนังได้อย่างชัดเจน
● มีการแยกพื้นที่โซนเปียก โซนแห้งอย่างชัดเจน อาจติดผ้าม่านกั้นโซนเปียก โซนแห้งภายในห้องน้ำแทนการใช้กระจก เพื่อลดโอกาสที่ผู้สูงอายุจะชนกระจก จนนำไปสู่การบาดเจ็บที่ร้ายแรงได้
● พื้นห้องน้ำต้องไม่ลื่น ไม่ควรทำพื้นขัดมัน ดังนั้นพื้นกระเบื้องที่เลือกใช้ควรเป็นพื้นกันลื่น ผิวกระเบื้องมีค่าความหนืด R10 ขึ้นไป เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุลื่นล้มในห้องน้ำ
3. ประตูห้องน้ำ
การติดตั้งประตูห้องน้ำ ควรใช้ประตูเลื่อนแบบรางแขวนด้านบน ประตูกว้างอย่างน้อย 90 เซนติเมตร เพื่อการเข้า-ออกห้องน้ำได้อย่างสะดวกในกรณีที่ต้องใช้วีลแชร์ แต่หากจำเป็นต้องใช้ประตูบานเปิด ลูกบิดประตูควรเป็นแบบก้านโยก เพราะผู้สูงวัยจะได้ไม่ต้องออกแรงบิดมาก และควรเป็นประตูบานเปิดออกด้านนอกด้วย เผื่อกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินจะได้เข้าช่วยเหลือได้ทันที
4. ราวจับผู้สูงอายุ
ราวจับผู้สูงอายุในห้องน้ำเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ เนื่องจากผู้สูงอายุอาจเคลื่อนไหวร่างกายได้ไม่สะดวกมากนัก รวมถึงอาจมีปัญหาทางด้านสายตาด้วย ซึ่งราวจับจะช่วยพยุงตัวขณะลุก-นั่ง หรือเดินได้ ดังนั้นแนะนำให้ติดตั้งราวจับตามจุดต่างๆ เช่น ข้างโถสุขภัณฑ์ ข้างอ่างล้างหน้า ทั้งนี้ราวจับผู้สูงอายุมีหลายรูปแบบด้วยกัน ดังนั้นควรพิจารณารูปแบบที่เหมาะสมกับจุดที่ติดตั้ง เพื่อให้ตรงกับการใช้งาน เช่น
● ราวจับรูปตัว U เหมาะสำหรับติดบริเวณโถปัสสาวะชาย
● ราวจับรูปตัว P เหมาะสำหรับติดบริเวณข้างอ่างล้างหน้า
● ราวจับรูปตัว T เหมาะสำหรับติดติดตั้งข้างโถสุขภัณฑ์
● ราวจับรูปตัว V มีขนาดโค้ง 45 องศา ออกแบบมาเพื่อรองรับน้ำหนักได้ดีขึ้นกว่าเดิม นิยมติดตั้งในแนวนอน เพื่อให้มุมการจับใช้งานมั่นคงยิ่งขึ้น
● ราวจับรูปตัว L ที่ช่วยให้จับและพยุงตัวได้ถนัดมากขึ้น ทรงตัวได้ง่ายขึ้น ติดตั้งได้ทั้งแนวตั้งและแนวนอน เช่นเดียวกับราวจับรูปทรงอื่นๆ
● ราวจับแบบตรง ที่ช่วยในการพยุงตัว นิยมติดตั้งในแนวนอนและแนวตั้ง สามารถติดตั้งได้ทั้งในห้องน้ำ หรือบริเวณทางเดินที่มีผนังด้านข้าง
● ราวทรงตัวแบบสวิง เหมาะสำหรับติดตั้งข้างโถสุขภัณฑ์ ช่วยรองรับน้ำหนักได้ดี พับเก็บได้ไม่เกะกะกรณีพื้นที่ในห้องน้ำไม่กว้างมา
นอกจากนี้ สิ่งสำคัญในการเลือกราวจับผู้สูงอายุ คือ วัสดุต้องมีความแข็งแรง ทนทาน ไม่ลื่น และจับได้ถนัดมือมากที่สุด รวมไปถึงระดับความสูงในการติดตั้งก็ต้องให้ความใส่ใจด้วย เช่น หากติดตั้งบริเวณชักโครก ควรสูงจากพื้น 60-85 เซนติเมตร หากติดตั้งบริเวณอ่างล้างหน้าควรสูงจากพื้นประมาณ 70-80 เซนติเมตร เป็นต้น
5. ปลั๊กไฟและหลอดไฟ
ปลั๊กไฟภายในห้องน้ำผู้สูงอายุควรจะมีฝาเปิด-ปิดเพื่อความปลอดภัย ป้องกันน้ำเข้า ส่วนไฟในห้องน้ำควรเป็นแสงสีขาวที่เป็นธรรมชาติ มีแสงสว่างเพียงพอ หลีกเลี่ยงการใช้ไฟแสงสีเหลือง สีส้ม เพื่อให้มองเห็นสุขภัณฑ์และอุปกรณ์ภายในห้องน้ำได้อย่างชัดเจน เนื่องจากผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะมีปัญหาทางด้านสายตา และควรติดตั้งสวิตช์ไฟในตําแหน่งที่เปิด-ปิดได้อย่างสะดวก
6. สุขภัณฑ์ภายในห้องน้ำ
● ขนาดโถสุขภัณฑ์ควรสูงจากพื้นประมาณ 40-45 เซนติเมตร เพื่อการลุก-นั่งที่สะดวก รวมถึงให้ผู้สูงอายุที่ใช้วีลแชร์ สามารถสไลด์ตัวจากวีลแชร์มายังโถสุขภัณฑ์ได้ง่าย
● โถสุขภัณฑ์ต้องแข็งแรง สามารถรองรับน้ำหนักได้ตามมาตรฐาน
● ติดตั้งอ่างล้างหน้าให้สูงจากพื้นประมาณ 75 -80 เซนติเมตร และควรเลือกอ่างล้างแบบขอบมน เพื่อป้องกันการชนหรือล้มกระแทก มีส่วนโค้งเว้าด้านหน้า มีพื้นที่ใต้อ่างล้างหน้า เพื่อจะได้เข็นวีลแชร์เข้าไปใช้อ่างล้างหน้าได้อย่างสะดวก
● ฝักบัวอาบน้ำควรเป็นแบบก้านโยก มีแรงดันน้ำต่ำ สามารถปรับระดับแรงดันน้ำได้ สามารถปรับระดับความสูงขึ้น-ลงได้ เพื่อให้ใช้งานได้ทั้งตอนยืนและตอนนั่งอาบน้ำ
● สายฉีดชำระควรปรับระดับแรงดันน้ำได้ และติดตั้งไว้ด้านข้างโถสุขภัณฑ์เพื่อจะได้หยิบใช้อย่างสะดวก ไม่ต้องเอี้ยวตัวไปด้านหลัง
● ก๊อกน้ำควรเป็นแบบระบบเซ็นเซอร์เพื่อให้สะดวกต่อการใช้งาน หรือเป็นแบบก้านโยก เพราะใช้แรงเปิด-ปิดน้อยกว่าก๊อกน้ำรูปแบบอื่น
● ติดตั้งเก้าอี้นั่งอาบน้ำ เพราะผู้สูงอายุบางท่านไม่สามารถยืนอาบน้ำได้ โดยเก้าอี้นั่งอาบน้ำในห้องน้ำผู้สูงอายุควรติดตั้งไว้ความสูงประมาณ 45-50 เซนติเมตร วัสดุแข็งแรง ทนทาน ไม่ลื่น มีความกว้างพอดี สามารถรองรับน้ำหนักได้ดี นอกจากนี้ ควรติดตั้งไว้ใกล้กับฝักบัว และติดตั้งราวจับผู้สูงอายุไว้ด้านข้างเพื่อช่วยพยุงตัวด้วย
ข้อควรรู้อื่นๆ ในการปรับปรุงห้องน้ำผู้สูงอายุเพื่อความปลอดภัย
● ควรติดตั้งปุ่มกดขอความช่วยเหลือหรือสวิตชฉุกเฉินไว้ใกล้กับโถสุขภัณฑ์ จุดอาบน้ำ หรือในระยะที่เอื้อมถึงได้สะดวก
● ควรมีกุญแจสำรองห้องน้ำอยู่ในจุดที่หยิบใช้งานง่าย กรณีเกิดเหตุฉุกเฉินจะได้ช่วยเหลืออย่างทันท่วงที
● หลีกเลี่ยงการเก็บน้ำยาล้างห้องน้ำหรือสารเคมีอันตรายไว้ในห้องน้ำที่ผู้สูงอายุใช้งาน เพื่อป้องกันการหยิบใช้งานผิดประเภท
● มีแผ่นกันลื่นในห้องน้ำบริเวณโถสุขภัณฑ์และจุดอาบน้ำ เพื่อช่วยป้องกันการลื่นล้มกรณีพื้นเปียก และมีพรมเช็ดเท้าสำหรับเช็ดเท้าให้แห้งก่อนออกจากห้องน้ำด้วย
● หมั่นทำความสะอาดห้องน้ำเสมอ เพื่อป้องกันการสะสมของเชื้อโรคและคราบสกปรกต่างๆ ที่อาจทำให้ผู้สูงอายุลื่นล้มได้
การปรับปรุงห้องน้ำผู้สูงอายุเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ และต้องให้ความใส่ใจในเรื่องความปลอดภัยเป็นอย่างมาก ดังนั้นคุณสามารถขอคำปรึกษาและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านการออกแบบห้องน้ำ รวมถึงการเลือกอุปกรณ์ภายในห้องน้ำเพิ่มเติมได้เพื่อความปลอดภัยอย่างสูงสุด
สำหรับใครที่กำลังมองหาราวจับผู้สูงอายุ เก้าอี้นั่งอาบน้ำติดผนัง หรืออุปกรณ์ภายอื่น ๆ ภายในห้องน้ำ ที่เอื้ออำนวยต่อการใช้งานผู้สูงอายุและทุกคนในครอบครัว WS Bathroom ผู้ผลิตอุปกรณ์ห้องน้ำชั้นนำของประเทศไทย พร้อมให้คำแนะนำและให้บริการรับผลิตอุปกรณ์ต่าง ๆ โดยสามารถผลิตตามขนาดพื้นที่ห้องน้ำและความต้องการของลูกค้าได้ ด้วยทีมงานมากประสบการณ์กว่า 40 ปี
ดูสินค้าเพิ่มเติมได้ที่ https://www.wsbathroom.com/product-category/safety-products/
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร 091-870-1111 หรือ 02-448-0954-55
Line Official Account: @wsbathroom